May 11, 2018

7 เรื่องต้องรู้ ก่อนดู MSI 2018

Category : LoL

ในช่วงเวลานี้ไม่ว่าคุณจะเป็นแฟนเกมใดก็ตาม แต่ในฐานประชากรผู้เสพการแข่งขันอีสปอร์ตเป็นชีวิตจิตใจ MSI 2018 ที่กำลังจะเริ่มต้นในเวลา 16.00 น. หรือ 4 โมงเย็นวันนี้ ถือเป็นหนึ่งในทัวร์นาเมนต์ “คลาส SSS” ที่คนอย่างคูณย่อมไม่พลาดอย่างแน่นอน
แต่ก่อนการแข่งจะเริ่ม แวดวงอีสปอร์ต ขอนำเรื่องราวที่คุณ “จำเป็นต้องรู้” เกี่ยวกับรายการนี้มาให้เสพกันก่อน

1.การแข่งที่หลายคนบอกเข้าร่วมยากกว่า World

MSI ย่อมาจาก Mid-Season Invitational การแข่งขัน League of Legends (LoL) ที่รวบรวม “ผู้ชนะเพียง 1 เดียว” จากการแข่งลีกครึ่งฤดูกาลแรก (Spring Split) ของแต่ละลีกทั่วโลกเข้าร่วมแข่งขัน มันจึงเป็น “Champion League” (ลีกของแชมป์จริงๆ ไม่เหมือน Uefa Champion League ของฟุตบอลที่เอาเข้าไปเล่นหลายทีม) และมีสำคัญเป็นรองแค่ “World Championship” การแข่งชิงแชมป์โลกอันโด่งดัง แต่ขณะเดียวกัน การเปิดโอกาสให้ทีมที่ดีที่สุดเพียงทีมเดียวเข้าร่วมเล่น ทำให้บางคนมองว่า MSI เป็นรายการที่มีโอกาสเข้ามาเล่นยากกว่า World เสียอีก

2. เงินรางวัลมีการเปลี่ยนแปลงบ่อย

MSI ถือเป็นหนึ่งในการแข่งที่มีความผันผวนจากเงินรางวัลที่มาจากการขายไอเทมพิเศษแล้วนำรายได้ 25% เข้าสมทบการแข่ง แต่ขณะเดียวกันก็มีการกระจายรายได้ที่ดีที่สุดรายการหนึ่ง

2015 เงินรางวัล 200,000$
อันดับ 1 Edward Gaming ได้ 100,000$
อันดับ 2 SK Telecom T1 ได้ 50,000$
อันดับ 3 และ 4 Fnatic และ ahq e-Sports Club ได้ทีมละ 25,000$

2016 เงินรางวัล 450,000$
อันดับ 1 SK Telecom T1 ได้ 250,000$
อันดับ 2 Counter Logic Gaming ได้ 100,000$
อันดับ 3 และ 4 Royal Never Give Up และ Flash Wolves ได้ทีมละ 50,000$

2017 เงินรางวัล 1,000,000$ (รายได้สมทบ 25% จากการขายไอเทม Conqueror Karma & Conqueror Ward skin)
อันดับ 1 SK Telecom T1 ได้ 676,000$
อันดับ 2 G2 Esports ได้ 338,000$
อันดับ 3 และ 4 Flash Wolves และ Team WE ได้ทีมละ 169,000$
อันดับ 5 และ 6 Team SoloMid และ GIGABYTE Marines ได้ทีมละ 84,500$
อันดับ 7 SuperMassive eSports ได้ 42,250$
อันดับ 8 และ 9 RED Canids และ Lyon Gaming ได้ 25,350$
อันดับ 10 และ 11 Dire Wolves และ Virtus.pro ได้ 21,125$
อันดับ 12 และ 13 Rampage และ Isurus Gaming ได้ 16,900$

ปี 2018 เงินรางวัล ยังไม่เปิดเผย แต่คาดว่าน่าจะเกิน 1 ล้าน$ (รายได้สมทบ 25% จากการขายไอเทม Conqueror Varus & 2018 Conqueror Ward skins)
อันดับ 1 ได้ 385,000
อันดับ 2 ได้ 195,000
อันดับ 3 และ 4 ได้ 97,500
อันดับ 5 และ 6 ได้ 50,000
อันดับ 7 และ 8 SuperMassive eSports และ Gambit Esports ได้ 25,000$
อันดับ 9 และ 10 Rainbow7 และ KaBuM! e-Sports ได้ 15,000$
อันดับ 11 Dire Wolves ได้ 12,500$
อันดับ 12 และ 13 Kaos Latin Gamers และ Ascension Gaming ได้ 11,250$
อันดับ 14 PENTAGRAM ได้ 10,000$

ระบบสมทบเงินจากการขายไอเทม ช่วยให้เงินรางวัล MSI พุ่งกระฉูด (ในภาพคือ สกิน Conqueror Varus ที่เปิดขายในปีนี้)

3. 2 ทีมเข้าร่วมอีเวนต์หลัก MSI บ่อยที่สุด

ทีมแรกคือ Flash Wolves (FW) จากลีก LMS (ประเทศไต้หวัน) ที่พลาดการเข้ามาเล่นใน MSI 2015 เนื่องจากพลาดท่าให้ ahq e-Sports Club ในรอบเพลย์ออฟ Spring 2015 แต่นอกเหนือจากนั้นพวกเขาได้เข้าร่วมในรอบเมนอีเวนต์มาโดยตลอด (รวมปีนี้นับได้ 3 ครั้งแล้ว)
ส่วนอีกทีมที่น่าชื่นชมกว่าคือ SK Telecom T1 หรือ SKT ที่เข้ามาเล่น MSI 3 ครั้งเท่ากัน แต่คว้าแชมป์มาครองได้ถึง 2 สมัย

น่าเสียดายที่เจ้าชายแห่ง LoL อย่าง Faker ไม่ได้ปรากฏตัวในรายการนี้

4. SKT ทีมที่มีประวัติศาสตร์ดีที่สุด

ต่อเนื่องจากหัวข้อ 3 เนื่องจาก SKT ถูกยกย่องว่าเป็นทีมที่ทำผลงานได้ดีที่สุดในการแข่ง MSI เข้าชิง 3 ครั้ง ปีแรกพลาดท่าให้ Edward Gaming (EDG) จากจีน ทำให้ครองเพียงที่ 2 ส่วนอีก 2 ปีที่เหลือกวาดแชมป์มาครองได้ 2 สมัยรวด แต่น่าเสียดายที่ปีนี้ตัวแทนของลีกเกาหลีไม่ใช่ SKT แต่เป็น King-Zone DragonX

Khan กลายเป็น “ซุปเปอร์สตาร์เบอร์ 1” ที่จะพา KingZone บินสูง

5. เวทีรวมยักษ์หลับ

Rekkles (FNC) ได้มีโอกาสโชว์ฝีมือในเวทีใหญ่อีกรอบ

แม้ในลีกทีมอย่าง Fnatic (FNC) และ Royal Never Give Up (RNG) ล้วนถูกวางตำแหน่งไว้ในระดับท็อปทีมที่พร้อมจะก้าวขึ้นมาคว้าแชมป์ได้เสมอเมื่อมีโอกาส แต่ด้วยระบบการคัดเอาทีมเดียวจากลีก คือ อุปสรรคสำคัญที่ทำให้ยอดทีมอาจพลาดเข้าร่วม MSI ถ้าฝีมือไม่สอดคล้องกับโอกาสและจังหวะ
อย่างไรก็ตาม ในปีนี้ทั้ง FNC ที่กลับมาอีกครั้งหลังจากหายหน้าไปตั้งแต่ปี 2015 ได้พิสูจน์ว่าพวกเขา คือ ที่สุดของ EU เพราะนอกจากจะครองที่ 1 ในระบบลีกเหนือ G2 Esport แล้ว ยังตบ G2 ในรอบชิงเพลย์ออฟไปอีก 3-0

Uzi หนึ่งในผู้เล่น RNG ที่หลายคนบอก เหนือชั้นไม่แพ้ Faker

ส่วน RNG ก็สามารถคว้าคู่ปรับตลอดการ EDG ในรอบชิงชนะเลิศ Spring 2018 จนได้เข้าร่วมรายการนี้อีกครั้ง เพราะหลังสุดหนเดียวที่พวกเขาได้เข้าร่วมคือ MSI 2016

6.น้องใหม่ร้ายบริสุทธิ์

นอกจากทีมยักษ์หลับแล้ว สนามนี้ก็เป็นเวทีแจ้งเกิดให้ทีมน้องใหม่ที่น่าจับตามองที่สุดอย่าง Team Liquid องค์กรอีสปอร์ตชื่อดังที่ทรงอิทธิพลที่สุดได้ออกอาละวาดในรายการนี้อีกด้วย
ที่ผ่านมาลีกอเมริกาเหนือ หรือ NA ถูกเรียกว่า ไก่กา ที่สุดเมื่อเทียบกับ 3 ลีกใหญ่อย่าง LCS LPL และ EU แต่ด้วยการประกาศตัวเข้าเป็นแฟรนไชส์ที่บริหารงานโดย Riot Games โดยตรงที่นำมาซึ่งผู้ชมและเม็ดเงินมหาศาล ทำให้บรรดาทีมต่างๆ ยกระดับทั้งเรื่องการบริหาร เทรนิค และแท็คติกการเล่นได้อย่างก้าวกระโดด
แน่นอนว่า Liquid ทีมที่เกิดจากส่วนผสมระหว่างผู้เล่นมากประสบการณ์จากต่างแดน กับ ผู้เล่นอายุน้อย แต่ดันมีประสบการณ์ในลีกสูง เลยกลายเป็น “หนึ่งในทีมเต็ง MSI” ไปโดยปริยาย

แม้จะเสียมารดาจากเหตุฆาตกรรม แต่ไม่อาจหยุดให้ Doublelift พาทีมเข้าไปเล่น MSI (อ่านเรื่องเศร้าของเจ้าตัวได้ที่นี่)

7.ทีมขนาดกลาง

การแข่งขันรายการนี้นอกจากจะมีทีมจากลีกชั้นนำอย่าง King-Zone, RNG, Liquid และ Fnatic เป็นตัวตั้ง ยังมีทีมจาก “ลีกขนาดกลาง” ที่ทำผลงานในทัวร์นาเมนต์ของ Riot ได้ดี จนมีค่าสัมประสิทธิ์สูงเสียจนได้ “สิทธิพิเศษ” รอชนกับผู้ชนะรอบ “Play-in” และไม่มีอะไรผิดพลาด SuperMassive eSports และ Gambit Esports ที่ยอดเยี่ยมที่สุดจากรอบ Play-in โดนทีม “ขนาดกลาง” อย่าง EVOS Esports (เวียดนาม) และ Flash Wolves (ไต้หวัน) ส่งกลับบ้านไปเป็นที่เรียบร้อย

Phan Công Minh หรือ Stark ผู้เล่นทีม EVOS Esports ยืนยันว่า พวกเขาเป็นรองแค่เกาหลีใต้กับจีน (ที่มา)

 

นั่นหมายความว่า MSI 2018 คือ การแข่งขันสุดเข้มข้นที่เต็มไปด้วยทีมระดับคุณภาพอย่างแท้จริง ชมการถ่ายทอดสดแบบพากย์ไทยได้ที่ Garena League of Legends Thailand 

Leave a comment