Warning: include_once(/home/esportsc/domains/esportscircles.com/public_html/wp-content/plugins/wp-database-backup/includes/admin/class-wpdb-admin.php): failed to open stream: Permission denied in /home/esportsc/domains/esportscircles.com/public_html/wp-content/plugins/wp-database-backup/wp-database-backup.php on line 86

Warning: include_once(): Failed opening 'includes/admin/class-wpdb-admin.php' for inclusion (include_path='.:/usr/local/php71/lib/php') in /home/esportsc/domains/esportscircles.com/public_html/wp-content/plugins/wp-database-backup/wp-database-backup.php on line 86
วิจัยนี้น่าสน.. คนที่เรียกตัวเองว่า "เกมเมอร์" มีแนวโน้มชอบเหยียด - esportscircles.com

December 3, 2022

วิจัยนี้น่าสน.. คนที่เรียกตัวเองว่า “เกมเมอร์” มีแนวโน้มชอบเหยียด

Category : ETC, The Article, ข่าวสาร

พฤติกรรม Toxic หรือ การทำตัวเป็นมลพิษในโลกออนไลน์ ถือเป็นเรื่องที่เราเห็นกันได้จนชินตาในวงการเกม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าเป็นเกมอีสปอร์ตที่ คนแข่งกับคน ยิ่งเจอพฤติกรรมทำนองนี้ได้บ่อย จนบางที หลายคนอาจจะสงสัย จริงๆ พวกเกรียนเข้าขั้นพวกชอบเหยียด (ไม่ว่าจะเป็นเหยียดฝีมือ เหยียดเพศ เหยียดเชื้อชาติโน่นนี่) ที่เราเห็นในเกมน่ะ วงการอื่นๆ มีบ้างมั้ย?

มาวันนี้ เหมือนเราจะได้คำตอบที่อาจจะชัดเจนเป็นรูปแบบร่างกว่าแต่ก่อน เมื่อ ‘Rachel Kowert’ นักวิจัยด้านสุขภาพจิต ได้ออกมาเผยข้อมูลและให้สัมภาษณ์กับนักข่าวว่า คนที่เรียกตัวเองว่า เกมเมอร์ มักมีพฤติกรรมสุดโต่ง และบ่อยครั้งจะนำไปสู่พฤติกรรมการเหยียดเชื้อชาติ กีดกันทางเพศ และการปกป้องคอมมูนิตี้หรือกลุ่มสังคมของตนเองจนเกินพอดี

ทั้งนี้ ผู้วิจัยสรุปประเด็นดังก้าวจาก 3 งานวิตัยวิจัยที่แตกต่างทั้งวิธีการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล (มีงานวิจัยจาก Bill Swann ศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยเทกซัสออสติน, วิจัยของ Alexi Martel นักศึกษาปริญญาเอกด้านจิตวิทยา ที่ตีพิมพ์ในวารสาร Frontiers in Communication และ วิจัยของ Rachel Kowert เอง)

เหยียดที่ว่าคือ เหยียดจริงๆ ไม่ใช่เหยียดแบบคลิปด้านบน 55+

Rachel กล่าวว่า “เมื่อคนที่เรียกตัวเองว่า เกมเมอร์รวมตัวกัน อัตลักษณ์ส่วนตัวของคนที่ชอบอะไรเหมือนๆ กัน จะถูกหลอมรวมเข้าร่วมกันเป็นสิ่งที่เรียกว่า อัตลักษณ์ร่วม ที่ไม่สามารถแยกออกจากกันได้ ซึ่งอัตลักษณ์ร่วมนี้จะนำไปสู่พฤติกรรมที่สุดโต่ง”

โดยผู้วิจัยอธิบายเพิ่มเติมว่า ลักษณะเช่นนี้มีรูปแบบเดียวกันกับ ทหารที่อยู่ในกองทัพมาหลายปี พอคนที่คิดคล้ายกัน มีแนวทางชีวิตมารวมตัวกัน ผู้คนในกองทัพก็แทบจะมีอัตลักษณ์และความเชื่อแบบเดียวกัน ส่งผลให้ ตัวตนของแต่ละคนไม่แตกต่างกันเลย

ผู้วิจัยสรุปให้ฟังว่า การที่เกมเมอร์ หันหน้าเข้าหาวิดีโอเกม เพราะมันอาจเป็นส่วนที่ขาดไปในชีวิต แน่นอนมันเป็นการสร้างความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นในกลุ่มวัฒนธรรมย่อย ซึ่งถือเป็นดาบสองคม เพราะหากชุมชนที่ เกมเมอร์ เข้าไปอยู่นั้นเต็มไปด้วย Toxic ทุกคนมีทัศนคติเหมือนกัน สภาพสังคมย่อมนำพาให้ เกมเมอร์ มีแนวคิดที่สุดโต่ง ส่งผลให้ความเชื่อของพวกเขามีความรุนแรงยิ่งขึ้นกว่าเดิม นั่นเอง

แต่ถ้า สังคมที่เกมเมอร์เข้าร่วมนั้นดีพอ ก็ไม่มีปัญหาอะไร..

ที่มา www.vice.com/en/article/epzq8z/gamer-identity-study-extremism

Leave a comment