February 21, 2019

เผยรายได้นักแข่งเกมเกาหลีใต้ ดินแดนทีอีสปอร์ตเบ่งบานถึงขีดสุด!

Category : ETC, LoL, Overwatch, PUBG, The Article

ถ้าย้อนกลับไปในช่วงเวลาหลายปีก่อน หากถามความคิดเห็นของคนทั่วไปในยุคนั้น อย่าว่าแต่จะมองหาคนที่เชื่อว่าการแข่งเกมสามารถใช้เป็นอาชีพที่เลี้ยงตนเองและครอบครัวได้เลย แค่หาเงินจากการเล่นเกมให้ได้สักนิดก็เป็นสิ่งที่ทำให้หลายคนทำใจให้เชื่อได้ยากแล้ว

อย่างไรก็ตาม เมื่อยุคสมัยผันเปลี่ยน โลกเกิดความเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา การแข่งเกม หรือที่หลายคนคุ้นเคยในชื่อสั้นๆ ว่า “อีสปอร์ต” กลายเป็นอุตสาหกรรมที่มีเงินหมุนเวียนมหาศาลจนนำมาซึ่งรายได้ที่มั่นคงสำหรับนักแข่งที่เปรียบเสมือน “ดาราหน้าฉาก” ของวงการ

แน่นอนว่า หากกล่าวถึงประเทศที่ประสบความสำเร็จสูงสุดของในโลกอีสปอร์ต คงไม่ต้องบอกก็รู้ว่า แม้แต่ละปีจะมีผู้ท่าชิงความเป็นมหาอำนาจหมายเลข 1 แต่ “เกาหลีใต้” ยังยืนหยัดผงาดง้ำเป็นเจ้าอุตสาหกรรมที่สามารถผลิตนักกีฬาชั้นนำขึ้นมาประดับวงการได้อย่างต่อเนื่อง

 

เมื่อ 'โสมขาว' ครองเจ้าอีสปอร์ตไม่ใช่สหรัฐอเมริกา หรือยุโรป แม้แต่จีนแผ่นดินใหญ่ก็ยังไม่เข้าขั้น…

Opublikowany przez แวดวง eSports Poniedziałek, 6 listopada 2017

(ปี 2017 ทีมอีสปอร์ตและทีมชาติเกาหลีใต้กวาดแชมป์โลกเกือบทุกรายการที่จัดแข่ง)

 

London Spitfire แชมป์ Overwatch League ทีมล่าสุดที่บางคนคิดว่าเป็นทีมเกาหลีมากกว่าอังกฤษ

 

สิ่งที่หลายๆ คนสงสัย ในเมื่อเกาหลีใต้เป็นดินแดนที่อีสปอร์ตแบ่งบานถึงขีดสุดแล้ว “รายได้” ของนักแข่งเกาที่นั่นล่ะมากมายขนาดไหนกัน? แวดวง eSports เลยหยิบเอาข้อมูลของ Invenglobal สื่ออีสปอร์ตชั้นนำที่มีฐานที่มั่นในแดนกิมจิมานำเสนอเพื่อให้แฟนๆ อีสปอร์ตชาวไทยได้ทราบทั่วกัน

 

 

จากการเก็บข้อมูลของนักแข่งเกมในประเทศเกาหลีใต้ที่โลดแล่นอยู่ในลีกสูงสุด (หรือผ่านการเล่นในทัวร์ชั้นนำ) จำนวน 421 คน ผลปรากฏว่า..

นักแข่งส่วนใหญ่ ที่ร้อยละ 37.2 มีเงินเดือนประมาณ 46,750 บาท – ไม่เกิน 114,116 บาท

ร้อยละ 25.6 มีเงินเดือน เกินกว่า 114,116 บาท – ไม่เกิน 231,250 บาท

ร้อยละ 16.3 (กลุ่มแรก) มีเงินเดือน เกินกว่า 231,250 บาท – ไม่เกิน 462,500 บาท

ร้อยละ 16.3 (กลุ่มที่สอง) มีเงินเดือน เกินกว่า 462,500 บาท – ไม่เกิน 1,153,000 บาท

สุดท้าย คือ ผู้เล่นระดับแม่เหล็ก ร้อยละ 4.7 (ประมาณ 20 คน เท่านั้น) ที่มีเงินเดือนมากกว่า 1,153,000 บาท

 

Faker นักแข่ง League of Legends ชื่อดังทีมมีเงินเดือนเกิน 5 ล้านบาท ย่อมเป็น 1 ใน 20 คนอยู่แล้ว (อ่านเรื่องราวของ Faker เพิ่มเติม)

 

นอกจากนี้ ตามสื่ออีสปอร์ตจากแดนโสมขาวยังเผยถึงอัตราส่วนของประชากรนักแข่งอีสปอร์ตในประเทศเกาหลีใต้เอาไว้ได้อย่างน่าสนใจภายกราฟด้านล่าง

การแข่งขันอีสปอร์ตที่มีผู้เล่นมากที่สุดได้แก่ Playerunknown’s Battlegrounds Korea League (148 คน) รองลงมาได้แก่ Overwach Contender (92 คน) การแข่งโอเวอร์วอร์ชที่ป้อนสตาร์มากมายสู่ลีกสูงสุดที่สหรัฐฯ ถัดมาคือ League of Legends Champions Korea หรือ LCK (82 คน) ลีกโมบ้าที่ได้รับความนิยมไปทั่วโลก ถัดมาเป็น LoL Challengers Korea หรือ CK (58 คน) ลีกรองของ LCK สุดท้ายเป็น เกมอื่นๆ รวมกันได้ 41 คน 

เมื่อรายได้มันดีงามพระรามแปดปานนี้ ไม่น่าแปลกใจว่า ทำไมโปรเกาหลีไม่ค่อยอยากย้ายออกไปเล่นนอกบ้านเกิดเท่าไร

Leave a comment